ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้
โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด
ผู้รายงาน นางกชกร รุ่งหัวไผ่
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) ประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด 2)ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ครูและบุคลากรในโรงเรียน จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครอง 155 คน และนักเรียน จำนวน 120 คน รวมทั้งสิ้น 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย 1) แบบประเมินสภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ สำหรับโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด (ด้านสภาวะแวดล้อมและด้านปัจจัยนำเข้า) 2) แบบประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด ผลของกระบวนการในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ (ด้านกระบวนการ) 3) แบบประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด ผลหลังจากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ (ด้านผลผลิต ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงความรู้) และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด
การประเมินโครงการครั้งนี้ ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2563 ถึงเดือนกันยายน 2564 และวิเคราะห์ผลการประเมินใช้การประเมินรูปแบบ CIPPIEST และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด โดยครูและบุคลากรในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
(x̅=4.78, SD=0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
1.1 ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.75, SD=0.45)
1.2 ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวมอยู่ในระดับ
มากที่สุด (x̅ =4.71, SD=0.50)
1.3 ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด ด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ =4.74, SD=0.52)
1.4 ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด ด้านผลผลิต (Product) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.83, SD=0.41)
1.5 ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด ด้านผลกระทบ (Impact) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.78, SD=0.50)
1.6 ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.82, SD=0.45)
1.7 ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด ด้านความยั่งยืน (Sustainability) โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.83, SD=0.40)
1.8 ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PLC ของโรงเรียนบ้านโคกสะอาด ด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ =4.81, SD=0.47)
เข้าใช้จาก IP : 3.19.30.32, 172.69.17.75, 3.19.30.32 | |
Online อยู่ : 8 | |
วันนี้ | 387 |
เมื่อวานนี้ | 3,593 |
เดือนนี้ | 24,534 |
ปีนี้ | 42,776 |
รวมทั้งหมด | 42,776 |
Record: 6962 (15.04.2025) ( Counter 19-04-2025 ) |